HOME GALLERY PRODUCTS LEARNING FORUM ABOUT CONTACT
 
ประวัติของผู้ผลิตหัตถกรรมหัวโขน “ภูเตศวร”

   หัตถกรรมหัวโขนภูเตศวร เริ่มจากกิจกรรมขนาดเล็ก โดยรวบรวมนักเรียนช่างหุ่นหัวโขนรุ่นที่ ๔ ที่จบ
การศึกษาจาก ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกาญจนาภิเษก(วิทยาลัยในวัง) หนึ่งในโครงการอนุรักษ์สืบสาน
ศิลปะไทยช่างสิบหมู่
ในองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทำการผลิตหัวโขนขนาดเล็ก
โดยมีแนวคิดว่าเหมาะกับการเก็บสะสม เป็นของที่ระลึกใช้พื้นที่น้อยในการสะสม หัวโขนขนาดเล็กที่มีขาย
ทั่วๆไป ส่วนใหญ่จะเป็นงานเรซิ่น ด้วยราคาที่จำกัดจึงทำให้งานมีความละเอียดน้อยลง สีและลวดลาย
ไม่ถูกต้องตามหลักโบราณ จึงคิดอยากผลิตงานที่มีความละเอียดสวยงาม ความถูกต้อง โดยไม่มีราคา
เป็นตัวกำหนดชิ้นงาน เพื่อสร้างกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหม่ที่เป็นนักสะสม ได้เรียนรู้ ได้ศึกษา

กว่าจะเป็น หัวโขน“ภูเตศวร”
   

  เริ่มจากการทำด้วยใจรักซึ่งในตอนเรียนตามหลักสูตรจะเรียนแค่ ๓ แบบ คือ หน้าพระ , ยักษ์ , ลิง แต่หน้าโขนในรามเกียรติ์ มีมากกว่า ๓๐๐ กว่าหน้า จึงอยากทำต่อไป
โดยใช้ทุนส่วนตัว และมีเพื่อนที่เรียนจบด้วยกันอีก ๒ คน
จึงมีความคิดว่าจะนำไปขาย หรือถ้าขายไม่ได้ก็เอามาแบ่งกันเก็บไว้ดูเป็นที่ระลึก
    ต่อมาเริ่มนำไปฝากร้านของเพื่อนเพื่อวางจำหน่ายในสวนจัตุจักรเพราะเห็นว่ามีชาว
ต่างชาติมาเที่ยวและซื้อของจำนวนมาก วางขาย ๖ เดือน ขายได้ ๑ ชิ้น เพราะลูกค้า
ชมว่าสวยแต่แพง
ซึ่งในตอนนั้นหัวโขนขนาดเดียวกันโดยทั่วไป จะขายประมาณ ๕00-๖00 บาท แต่ของเราขายอยู่ที่ราคา ๑,๕๐๐-๑,๘๐๐ บาท แต่การผลิตความปราณีต ความละเอียดแตกต่างกัน ลูกค้าดูเผินๆ จะไม่เข้าใจจึงคิดที่จะเลิกทำ ต่อมาในปี ๒๕๔๓
ร่วมออกงานนิทรรศการกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกาญจนาภิเษก(วิทยาลัยในวัง)

ตามศูนย์การค้า และสถานที่ต่างๆ สาธิตขั้นตอนการ ผลิตร่วมกับการจำหน่ายสินค้า
ซึ่งเป็นที่สนใจของชาวไทย , ชาวต่างชาติ และได้รับเชิญแสดงงานและสาธิตในงาน
นิยมไทย ณ สยามดิสคัฟเวอรี่เซ็นเตอร์ มีลูกค้าให้ความสนใจจำนวนมาก มียอดจำหน่าย
และยอดสั่งซื้อประมาณ ๑,๐๐๐ ชิ้นตลอดงานทำให้ทราบว่ากลุ่มลูกค้าของเราคือคนไทย
ซึ่งพอมีฐานะ หรือชาวต่างชาติที่พักตามโรงแรมชั้นนำ

   ในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ นิตยาสารกินรีของบริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) ได้ขอ
สัมภาษณ์การผลิตซึ่งทำให้ยอดการผลิตเพิ่มสูงขึ้นมากอีกทั้งยังให้การเผยแพร่วัฒนธรรม
ไทย และศิลปะของไทยสู่สายตาของคนทั่วไป รวมทั้งชาวต่างชาติด้วย ในช่วงเวลาเดียวกัน
ได้ออกรายการเมืองไทยวันนี้ ช่วงรายการคุณค่าหัวโขนจิ๋ว ทางสถานโทรทัศน์ช่อง๓
ทำให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ซึ่งมีโรงแรมต่างๆรวมทั้งศูนย์การค้าชั้นนำติดต่อไปจำหน่าย อาทิ
เช่น โรงแรมเพรสซิเดนซ์ โรงแรงโรยัลริเวอร์ เซ็นทรัล ฯลฯ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
เข้ามาส่งเสริม โดยได้เชิญไปเผยแพร่ที่ต่างประเทศ อาทิเช่น ประเทศบราซิล ประเทศเกาหลี
สหภาพแอฟริการใต้ ญี่ปุ่นฯลฯ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยยังสนับสนุนเป็นอย่างดี
อีกทั้งยังมีการติดต่อเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
นามนี้ “ภูเตศวร” ได้มาฉะไหน
   ภูเตศวร ซึ่งใช้เป็นนามปากกาของ อาจารย์ประพนธ์ วิพัฒนพร หรือ“อาจารย์แม้ว” นักเขียนชื่อดัง ท่านเป็นอาจารย์สายธรรมะที่นับถือ จึงขออนุญาติ
ใช้ชื่อ ภูเตศวร เป็นชื่อกลุ่มในการผลิตหัวโขน เพื่อเป็นศิริมงคล
   ความหมายของชื่อ พระศิวะเจ้าทรงเป็นมหาเทพสูงสุดของศาสนาพราหมณ์
ีมีคติที่แปรเปลี่ยนรูปของพระองค์เป็นปางต่างๆ เรื่องราวของพระศิวะมหาเทพนั้น
โดยสามัญเชื่อว่าเป็นเทพเจ้าผู้ทำลาย แต่ในขณะเดียวกันก็มักจะเป็นผู้ประสาทพร
ให้ด้วย เรื่องราวของพระองค์ ปรากฏในตันตระค่อนข้างมากหลายคนเข้าใจว่าตันตระ
เป็นความเชื่อนิกายหนึ่งแต่แท้ที่จริงตันตระไม่ใช่ความเชื่อ ไม่ใช่ศาสนาแต่เป็นวิธีการ
เพื่อบรรลุแจ้งในสัจจะธรรมต่างหาก ในตันตระนั้นมีการนับถือพระศิวะกันมาก
และปางหนึ่งที่เป็นที่มาของ พิธีกรรมนำผงเถ้ามาทาตัวที่เรียกว่าวิภูติบางครั้งอาจ
เรียกว่าผงมหาภูติ พระศิวะปางนี้จึงเป็นผู้เหนือภูติทั้งปวงเรียกนามพระองค์ว่า “ภูเตศวร”
    รายการประชาสัมพันธ์
สื่อสิ่งพิมพ์
๑. นิตยสารกินรี ของบริษัทการบินไทย ฉบับเดือนมิถุนายน ๒๐๐๑
๒. นิตยสารงานกับคน ฉบับที่ ๖๑๐
๓. นิตยสารดิฉัน ๒๐๐๑
๔. หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุกิจ Newbiz SMES
๕. หนังสือพิมพ์ Post Today เมธีทำกิน
๖. สุดยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน เขตห้วยขวาง
๗. เอกสารสุดยอด OTOP ไทยความภูมิใจของแผ่นดิน
๘. หนังสือพิมพ์ Bangkok Today เมธีทำกิน
๙. หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ Otop Center
๑๐. หนังสือพิมพ์ร่วยด้วยกัน
๑๑. SMETODAY
๑๒. หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับวันที่ ๓๐/๗/๒๕๕๐
๑๓. หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันที่ ๓๑/๗/๒๕๕๐
๑๔. นิตยสารพลอยแกมเพรชฉบับวันที่ ๑๔/๒/๒๕๕๑
๑๕.นิตยสารหญิงไทย ฉบับวันที่ /๒/๒๕๕๑
๑๖. หนังสือพิมพ์บ้านเมือง ฉบับวันที่ ๒๐/๒/๒๕๕๒
๑๗. หนังสือพิมพ์BANGKOK POSTฉบับวันที่ ๕/๙/๒๕๕๒
รายการทีวี
๑. รายการเมืองไทยวันนี้ เรื่อง “คุณค่าหัวโขนจิ๋ว” ช่อง ๓
๒. รายการ Nation Week ทาง UBC
๓. รายการ บ้านเลขที่ ๕ ช่อง ๕
๔. รายการเช้านี้ที่เมืองไทยช่อง ๕
๕. รายการ City Focus ช่อง ITV
๖. รายการ SME ชี้ช่องรวย ช่อง ๑๑
๗. รายการเพื่อนคู่คิด ช่อง ๓
๘. รายการเที่ยวเมืองไทยใน๑นาที ช่อง ๗
๙. รายการซอกแซกกรุงเทพ ช่อง ๗
๑๐. รายการ Otop Center ช่อง ๙
๑๑. รายการเส้นทางแห่งภูมิปัญญา ช่อง ๕
๑๒. รายการ ช่องทางทำกิน ช่อง ITV
๑๓. รายการ Five Star Otop ช่อง ITV
๑๔. รายการกรุงเทพวาไรตี้ ช่อง ๕



แสดงงานในต่างประเทศ
๑. ร่วมโชว์งานศิลปหัตถกรรมไทย
ณ นครริโอเดอจาเนโรประเทศบราซิล พ.ศ. ๒๕๔๔
๒. ร่วมโชว์งานอาหารนานาชาติ
ณ นครบราซิเรีย ประเทศบราซิล พ.ศ. ๒๕๔๔
๓. ร่วมโชว์งานศิลปหัตถกรรมไทย
ณ กรุงพริทอเรีย ประเทศสหภาพแอฟริกาใต้ พ.ศ. ๒๕๔๕
๔. ร่วมโชว์งานศิลปหัตถกรรมไทย
ณ. กรุง แมคริค ประเทศสเปน พ.ศ. ๒๕๔๖
๕. ร่วมโชว์งานศิลปหัตถกรรมไทย
ณ กรุงบาเซโรน่าประเทศสเปน พ.ศ. ๒๕๔๖
๖. ร่วมโชว์งานศิลปหัตถกรรมไทย
ณ กรุงลิสบอนด์ประเทศโปรตุเกส พ.ศ. ๒๕๔๗
๗. ร่วมโชว์งานศิลปหัตถกรรมไทย
ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี พ.ศ. ๒๕๔๗
๘. ร่วมโชว์งานศิลปหัตถกรรมไทย
ณ ประเทศสิงค์โปร์พ.ศ. ๒๕๔๗
๙. ร่วมโชว์งานศิลปหัตถกรรมไทย
ณ กรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่น พ.ศ.๒๕๔๗
๑๐. ร่วมโชว์งานศิลปหัตถกรรมไทย
ณ กรุงปารีส,โคมา ประเทศฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๕๔๘
๑๑. เทศกาลอาหารไทย ณ โรงแรมดุสิตดูไบ ประเทศดูไบพ.ศ. ๒๕๔๙
๑๒. เทศกาลอาหารไทย ณ เมืองแฟรงเฟริต เยอรมันนีพ.ศ. ๒๕๔๙
๑๓. THAI FESTIVAL นคร SYDNEY AUSTRALIA มี.ค. พ.ศ. ๒๕๕๒
๑๔. ร่วมโชว์งานASIAN ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
ส.ค. พ.ศ.๒๕๕๒
๑๕. Thai Fcstival ครั้งที่ ๑๑ ๒๐๑๐ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
พ.ศ.๒๕๕๓

 

 

 

 

 

 
ส่งท้าย

    ปัจจุบันหัวโขนได้กลายเป็นสัญญาลักษ์ทางศิลปวัฒนธรรมไทยอย่างหนึ่ง ดังจะได้จากการที่หัวโขนถูกย่อส่วนลง เพื่อจัดการแสดงและ
ประดับประดาในสถานที่ต่างๆ ช่วยในการเสริมสร้างบรรยากาศให้มีเสน่ห์อย่างล้ำลึก มีเอกลักษณ์อย่างโดดเด่น เป็นของสะสมสำหรับผู้ที่มี
ีรสนิยมทางศิลปะและบุคคลทั่วไปที่ต้องการจับจองงานศิลปะอันเป็นของสะสมที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง ความงดงามอันวิจิตรละเมียดละไม หัวโขนจิ๋วจึงเป็นทางเลือกอย่างหนึ่งสำหรับนักสะสมหรือจะเป็นสินค้าส่งออกที่ทำให้เงินไหลเข้าประเทศเราอย่างมากมาย
ผู้ผลิตหัตถกรรมหัวโขน “ภูเตศวร” หวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการเชิดชูศิลปะวัฒนธรรมไทยและช่วยเหลือเศษฐกิจของชาติด้วยอีก ประการหนึ่ง

 
            home / gallery / products / learning / forum / about / contact             
            หัวโขนภูเตศวร Bhutesavara Khon Masks
            74 Moo1 Bing, Pong, Pang Ampava Samutsongkhram (75110)
            Tel. 081-7754118, 086-0369701, Fax. 034732740
            E-mail bhutesavara@gmail.com www.bhutesavara.com           
            Copyright : 2011 all rights reserved Web : 1280x800 Pixeis Font : TH Charmonman